วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Blog เครื่องมือแนะแนวยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพ

Blog  เครื่องมือแนะแนวยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพ




สำหรับสื่อการแนะแนวในยุคปัจจุบันมีความหลากหลายตามการพัฒนาของเทคโนโลยี  ซึ่งทำให้กิจกรรมแนะแนวสามารถดำเนินการได้สะดวกและเหมาะสมกับยุคมากขึ้น
จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ blog และเว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการดำเนินการแนะแนวเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ข้อมูลอาชีพ  ข้อมูลการศึกษา  ข้อมูลส่วนตัวและสังคม  และข่าวสาร  เกร็ดความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจงานแนะแนว  พบว่า เครื่องมือประเภทเว็บไซต์ เว็บ blog  เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารยุคปัจจุบันทำให้นักเรียน  นักศึกษา และผู้สนใจแวะเวียนมาใช้บริการอยู่ไม่ขาดสาย  และบางครั้งก็มีคำถามต่างๆ  เกี่ยวกับปัญหาการเรียน  การศึกษาฝากทาง e-mail อยู่เสมอ  ทำให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงกิจกรรมการแนะแนวโดยง่าย 
ซึ่ง blog ที่ผู้เขียนใช้ดำเนินการจัดกิจกรรมแนะแนวคือ  www.naenaew.blogspot.com


สาเหตุที่ blog  ประสบความสำเร็จในการแนะแนว คือ
1. blog  เป็นเครื่องมือที่มีความทันสมัย  สามารถใช้บริการได้ง่าย และสามารถฝากคำถามหรือแสดงความคิดเห็นได้ทันที
2. ยุคสมัยนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี  การใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงการแนะแนวโดยใช้ blog เป็นสื่อทำให้นักเรียน  นักศึกษา และผู้สนใจสามารถใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา
3. มีการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการแนะแนวที่นวดเร็วตรงกับความต้องการ
4. การพัฒนาการแนะแนวในรูปแบบของ blog หรือเว็บไซต์ไม่มีข้อจำกัดด้านผู้ใช้บริการ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เพราะไม่มีสังกัดมาเกี่ยวข้อง
5. ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของนักเรียน  นักศึกษา และผู้สนใจยุคใหม่
6. อื่น ๆ

จากข้อมูลที่กล่าวไว้ในข้างต้นเห็นได้ว่า  ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ครูแนะแนวและผู้ให้บริการแนะแนวควรปรับเปลี่ยนวิธีการแนะแนวให้สอดคล้องกับยุคสมัย เพื่อให้การแนะแนวเกิดความงอกงามทางสังคม

ซึ่งจากประสบการณ์พบว่า สื่อประเภท blog เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการแนะแนวอย่างมาก สำหรับคุณครู หรือผู้สนใจที่สนใจเกี่ยว blog  สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมในหมวด blog เพื่อการเรียนรู้

ฉะนั้นการแนะแนวจึงไม่ควรหยุดนิ่งเพราะทุกวันนี้เรามีเครื่องมือมากมายที่จะใช้ในการแนะแนว หวังว่าพี่ ๆ น้อง ๆ ผู้มีอุดมการณ์แนะแนวจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ไปพัฒนาการแนะแนวของตนนะครับ



ผู้เรียบเรียง
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

11/07/2556

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ชุดการเรียนรู้ที่ 4 ผลการสำรวจสภาพปัญหาพรรณไม้ในสวน

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์
ชุดการเรียนรู้ที่ 4  ผลการสำรวจสภาพปัญหาพรรณไม้ในสวน

ผู้ดำเนินกิจกรรม
ผู้ดูแลเว็บ newnaew.net

ผลการสำรวจสภาพปัญหาของพรรณไม้พบว่า
พรรณไม้ที่ปลูกบนดินไม่ประสบปัญหาการเจริญเติบโต 

แต่พรรณไม้ในกระถางใบไม่สวย  ก้านไม่สมบูรณ์  บางต้นแห้งตาย 
โดยพบว่า ต้นไม้ส่วนใหญ่ปลูกกลางสวนมีสแลมกรองแสงปกคลุม
แต่ตอนกลางวันนั้นอากาศร้อน ทำให้ต้นไม้บางชนิดต้านทานต่อแสงไม่ไหว

จากการสำรวจในกระถางพบว่า  กระถางบางส่วนไม่มีดิน  มีแต่กาบมะพร้าวบดเป็นส่วนใหญ่
บางส่วนที่ปลูกด้วยดินก็เป็นดินที่มีความแข็ง ดินขาดธาตุอาหาร อาจเนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีเป็นประจำ
ขาดการใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก จำพวกเศษใบไม้  ทำให้รูปทรงพรรณไม้ไม่ค่อยสมบูรณ์
พรรณไม้บางชนิด เช่น  สับปะรดสี มีจำนวนต้นที่อัดแน่นเกินไป ขาดการแยกหน่อ ทำให้ลำต้นบางส่วนเน่าตาย
กระถางสำหรับใส่ต้นกุหลาบ มีต้นสังกรณีปกคลุม  ทำให้รากของต้นสังกรณีแยกอาหารของกุหลาบ ทำให้กุหลาบขาดอาหารและแห้งตาย
กล้วยไม้  ส่วนใหญ่ดูแลด้วยการนำเศษไม้แห้งมาเป็นฐาน ทำให้ขาดความชุ่มชื่นในการอุ้มน้ำ 
เนื่องจากกล้วยไม้เป็นพรรณไม้ประเภทกาฝาก  อาศัยต้นไม้ใหญ่ในการดูดสารอาหาร  ซึ่งตามธรรมชาติ กล้วยไม้มักจะเกาะตามต้นไม้ใหญ่เพื่อดูดน้ำเลี้ยง และเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่แสงแดดรำไร

การปลูกกล้วยไม้ที่นิยมแบบพื้นบ้าน คือ การใช้กาบมะพร้าวมาเพาะขยายกล้วยไม้ เพาะกาบมะพร้าวอุ้มน้ำได้ดี หรือน้ำมาติดตามต้นไม้ใหญ่ จะทำให้ต้นสวยและดูแลง่ายขึ้น








ดังนั้นจึงสามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้
1. พรรณไม้ขาดธาตุอาหาร
2. กระถางบางส่วนขาดดิน
3. พรรณไม้มีจำนวนมากเกิน
4. พรรณไม้บางชนิดเป็นวัชพืชที่คอยแยกอาหารพรรณไม้หลัก
5. การดูแลไม่ถูกวิธี
6. วัสดุไม่เหมาะสม


เรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ กับแนะแนวชีวิต

ผู้เขียน
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
วันที่  22  มิถุนายน  พ.ศ. 2556

วันที่โพสข้อมูล

วันที่ 3  กรกฎาคม  พ.ศ.  2556

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ชุดการเรียนรู้ที่ 3 ประมวลภาพพรรณไม้

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์
ชุดการเรียนรู้ที่ 3 ประมวลภาพพรรณไม้
ประมวลภาพผลการสำรวจพรรณไม้ในสวนบ้านอาจารย์


ผู้ดำเนินกิจกรรม
ผู้ดูแลเว็บ newnaew.net

ประมวลภาพผลการสำรวจพรรณไม้ และค้นหาชื่อพรรณไม้ต่าง ๆ
พบว่าพรรณไม้ในบ้านอาจารย์มีประมาณ  30  กว่าชนิด  ดังนี้
1. คล้าน้ำสีแดง


2. ต้นสายน้ำผึ้ง


3. เปลวเทียน


4. ไผ่น้ำเต้า


5. สับปะรดสี


6. ซองออฟจาไมก้า


7. เฮลิโคเนีย


8. บุหงา


9. ดอกแก้ว



10. กล้วยไม้

11. ว่านมหาโชค

12. สังกณี


13. หลิวเลื้อย

14. ใบทอง

15. ดอกเข็มแดง

16. ลั่นทม

17. ตีนเป็ด

18. คริสติน่า

19. ยี่เข็ง

20. หูกระต่ายหรือต้นหยกมรกต


21. อัญชันดอกขาว


22. เฟิร์นข้าหลวง


23. โมกแคระ


24. ป่านศรนารายณ์


25. ดอกพุท


26. ดาหลา


27. หนวดปลาหมึกแคระ,ด่าง

28. โป๊ยเซียน

29. กุหลาบ


30. ใบทอง

31. หางกระรอกแดง

32. ว่านหางจระเข้แคระ

33. เนียม

34. มะม่วงหาวมะนาวโห่

35. วาสนา

36. และวัชพืชต่างประเทศบางชนิด เช่น หญ้าประดับ และต้นที่ไม่รู้จักอีกประมาณ 2 ชนิด


จากภาพจะเห็นได้ว่าพรรณไม้ที่ปลูกกับดินเจริญเติบโตได้ดี   พรรณไม้ในกระถางดูหมือนขาดธาตุอาหาร

เรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ กับแนะแนวชีวิต

ผู้เขียน
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
วันที่  16  มิถุนายน  พ.ศ. 2556

วันที่โพสข้อมูล

วันที่ 3  กรกฎาคม  พ.ศ.  2556

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ชุดการเรียนรู้ที่ 2 สำรวจพรรณไม้

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์
ชุดการเรียนรู้ที่ 2  สำรวจพรรณไม้
ผลการสำรวจพรรณไม้ในสวนบ้านอาจารย์


ผู้ดำเนินกิจกรรม
ผู้ดูแลเว็บ newnaew.net

ผลการสำรวจพรรณไม้ และค้นหาชื่อพรรณไม้ต่าง ๆ
พบว่าพรรณไม้ในบ้านอาจารย์มีประมาณ  30  กว่าชนิด  ดังนี้
1. คล้าน้ำสีแดง
2. ต้นสายน้ำผึ้ง
3. เปลวเทียน
4. ไผ่น้ำเต้า
5. สับปะรดสี
6. ซองออฟจาไมก้า
7. เฮลิโคเนีย
8. บุหง่า
9. ดอกแก้ว
10. กล้วยไม้
11. ว่านมหาโชค
12. สังกณี
13. หลิวเลื้อย
14. ใบทอง
15. ดอกเข็มแดง
16. ลั่นทม
17. ตีนเป็ด
18. คริสติน่า
19. ยี่เข็ง
20. หูกระต่ายหรือต้นหยกมรกต
21. อัญชันดอกขาว
22. เฟิร์นข้าหลวง
23. โมกแคระ
24. ป่านศรนารายณ์
25. ดอกพุท
26. ดาหลา
27. หนวดปลาหมึกแคระ,ด่าง
28. โป๊ยเซียน
29. กุหลาบ
30. ใบทอง
31. หางกระรอกแดง
32. ว่านหางจระเข้แคระ
33. เนียม
34. มะม่วงหาวมะนาวโห่
35. วาสนา
36. และวัชพืชต่างประเทศบางชนิด เช่น หญ้าประดับ และต้นที่ไม่รู้จักอีกประมาณ 2 ชนิด


ซึ่งจากผลการสำรวจพรรณไม้พบว่า ปลูกในกระถ่างเป็นส่วนใหญ่ และปลูกลงดินสำหรับพรรณไม้ขนาดกลาง ถึงใหญ่

เรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ กับแนะแนวชีวิต

ผู้เขียน
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
วันที่  11  มิถุนายน  พ.ศ. 2556

วันที่โพสข้อมูล

วันที่ 3  กรกฎาคม  พ.ศ.  2556