แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ควรพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ
อย่างเป็นระบบเพื่อ ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผู้เขียนของนำเสนอแนวคิด ดังนี้
1. ศึกษารายละเอียดของเนื้อหา
ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ผู้จัดทำควรศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่ต้องการจัดการเรียนรู้จากเอกสาร
และตำราจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
2. ศึกษาของเขตของเนื้อหา
ในการกำหนดเนื้อหาสำหรับจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้เรียน ควรกำหนดเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอดสำหรับผู้เรียนแต่ละดับอย่างเหมาะสมไม่ง่ายเกินไปหรือยากเกินไป
เนื้อหาบางอย่างอาจมีรายละเอียดที่ผู้เรียนรู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้
เนื้อหาเหล่านั้นควรพิจารณาด้วยว่าควรตัดออกหรืออาจเพิ่มเติมให้ภายหลัง
เพื่อให้การกำหนดขอบเขตของเนื้อหามีความชัดเจนมากขึ้น และเหมาะสมกับระดับการรับรู้ของผู้เรียน
3. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา
ในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาควรพิจารณาการลำดับเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยาก
และแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
4.
กำหนดสื่อประกอบการอธิบายเนื้อหา
ในการกำหนดสื่อประกอบการอธิบายเนื้อหา
สื่อแต่ละแบบมีความเหมาะสมแตกต่างกัน
สื่อบางอย่างอาจใช้จากวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย
สื่อบางอย่างอาจต้องจัดซื้อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
หรือตัวอย่างประกอบการอธิบายเนื้อหาที่หาได้ง่าย เช่น
จัดการเรียนรู้เรื่องใบใม้ ต้นไม้ ควรนำใบไม้หรือต้นไม้จริงมาประกอบเพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
5. กำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละครั้ง
ควรมีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนเหมาะสำหรับสภาพผู้เรียนและสภาพแวดล้อมในการจัดกิจกรรม
เนื่องจากเนื้อหาบางอย่างที่สามารถจัดการเรียนรู้ในสภาพจริงได้
ควรมีการกำหนดสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรม ตลอดจนขั้นตอนการจัดกิจกรรมควรอธิบายการใช้สื่อหรืออุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้
หรือนำเสนอเนื้อหาที่ต้องการสอนอย่างละเอียดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
6. กำหนดการวัดผลและประเมินผลให้ชัดเจน สิ่งที่สำคญที่สุดในการจัดการเรียนรู้อีกข้อหนึ่งคือ
การวัดลและประเมินผล
เพราะข้อมูลในการวัดผลประเมินผลคือ
ข้อมูลสำหรับวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน
และวัดประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกครั้งจึงควรมีการวัดและประเมินผลทุกครั้ง
ซึ่งการวัดผลนั้นควรวัดในสิ่งที่สามารถสังเกตเหตุได้ชัดเจน
และเป็นรูปธรรมมากที่สุด
เนื่องจากการวัดผลบางอย่างมีความยากในการวัด เช่น การวัดด้านเจตคติ
ดงนั้นผู้สอนจึงควรสร้างเครื่องมือให้ออกมาเป็นรูปธรรมให้ได้
ผู้เขียนบทความ
กฤษดา บุญหมื่น
วันที่เขียน
04/07/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น